Learning Outcomes 9

Thursday 3th October 2019

❤ ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ให้นำแผ่นพับสารสัมพันธ์ที่ให้ทำสัปดาห์ก่อนมาส่ง และวันนี้แต่ละกลุ่มนำเสนอวิจัยที่เกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครอง
แผ่นพับสารสัมพันธ์ของตนเอง
 หน่วยผักแสนอร่อย ให้ความรู้ ประโยชน์ และเคล็ดลับต่างๆของผัก มีเนื้อเพลงเกี่ยวกับผัก ให้ผู้ปกครองสามารถนำไปสอนลูกๆได้


การนำเสนอวิจัยเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครอง
กลุ่มที่1  เรื่อง การส่งเสริมความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”
⧫ วัตถุประสงค์การวิจัย
  1.เพื่อศึกษาพัฒนาการทางด้านภาษาด้านความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”
  2.เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา”
เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย
  1.ชุดกิจกรรมเล่นกับลูกปลูกภาษา
  2.แบบวัดความเข้าใจทางภาษา
⧫ สรุปผลการวิจัย
  1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภาษา “ มีพัฒนาการความเข้าใจภาษา โดยรวมสูงขึ้น ร้อยละ 53.72
ของความสามารถพื้นฐานเดิม
  2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเข้าใจภาษาโดยผู้ปกครองใช้ชุดกิจกรรม “เล่นกับลูกปลูกภำษำ” มีความเข้าใจภาษาโดยรวมและจาแนกรายด้าน คือการใช้คาอย่างมีจุดมุ่งหมายและการใช้ประโยคเพื่อสื่อความหมาย สูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

กลุ่มที่2 เรื่อง การศึกษาผลของการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองในการสอนความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
⧫ วัตถุประสงค์การวิจัย
  เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองซึ่งคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กด้วยตัวเองหลังจากได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยกับผู้ปกครองซึ่งเรียนรู้วิธีสอน และการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
 เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย
  1.ชุดการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอดทางศาสตร์ เรื่อง รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่เรียนรู้วิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอน
  2.แบบันทึกวิธีสอนและรายชื่อสื่อสำหรับผู้ปกครองกลุ่มที่คิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย เรื่อง  รูปวงกลม  สีเหลี่ยม และสามเหลี่ยม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก หลังจากผู้ปกครองคิดวิธีสอนและสื่อที่ใช้ในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัยแล้ว
  3.แบบบันทึกปริมาณการใช้สื่อในการสอนเด็กสำหรับผู้ปกครอง ซึ่งผู้วิจัยใช้บันทึกรายชื่อสื่อ และจำนวนสื่อ ที่ผู้ปกครองทั้ง 2 กลุ่มใช้สอนเด็ก เรื่อง ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
  4.แบบทดสอบความคิดรวบยอดทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ - 4 ปีบริบูรณ์   เรื่อง  ใหญ่ – เล็ก   ยาว – สั้น  หนัก – เบา  และ มาก –  น้อย
⧫ สรุปผลการวิจัย
  ความสามารถในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2 ½ -4 ปีบริบูรณ์ ในชนบทที่สอนโดยผู้ปกครองที่ได้รับการศึกษาโดยคิดวิธีสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กร่วมกับผู้วิจัย และเรียนรู้วิธีการสอนและการใช้สื่อในการสอนเด็กจากชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

กลุ่มที่3 เรื่อง การเสริมพื้นฐานทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรม “สนุกกับลูกรัก”
⧫ วัตถุประสงค์การวิจัย
  1.เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์
  2.เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
  3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
 เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย
  1.ชุดกิจกรรม“สนุกกับลูกรัก” จำนวน 8 ชุด
  2.แบบทดสอบเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
⧫ สรุปผลการวิจัย
  1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุด กิจกรรมลูกรัก ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะ  พบว่า...เด็กปฐมวัยหลังได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมสนุกกับลูกรัก มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
  2.การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการทดลองมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับควรปรับปรุง (=12.90)และหลังทดลองที่ได้รับการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองผ่านชุดกิจกรรมลูกรักมีคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับดี
( =30.35)

กลุ่มที่4เรื่องการพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
⧫ วัตถุประสงค์การวิจัย
  1.เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
  2.เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
 เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย
  1.โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
  2.แบบวัดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในการพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
  3.แบบสังเกตพฤติกรรมนิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย
⧫ สรุปผลการวิจัย
  1.ผู้ปกครองที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีนิสัยรัการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลอง
  2.เด็กปฐมวัยที่ใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของเด็กปฐมวัย มีการพัฒนานิสัยรักการอ่านสูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

กลุ่มที่5เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง
ในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาลด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

⧫ วัตถุประสงค์การวิจัย
  เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
 เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย
  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  ผู้ปกครองของเด็กวัยอนุบาลทั้งหมดในหมู่บ้านหนองกก หมู่ที่4 ตำบลพัฒนา อำเภอพรพิน จังหวันครศรีธรรมราช ในปีพ.ศ.2540 มีจำนวนทั้งสิ้น39คน
⧫ สรุปผลการวิจัย
  หลังการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาล ด้วยรูปแบบการให้ประชาชนในชนบทมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยอนุบาลในเรื่องที่ผู้ปกครองเลือกมาแก้ปัญหา ได้แก่เรื่อง โรคฟันผุในเด็กวัยอนุบาล ดังนี้
  1.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กอนุบาล ด้านการแปรงฟัน จากพฤติกรรมการไม่ได้ติดตามการดูแลการแปรงฟันของเด็กหรือติดตามอย่างไม่สม่ำเสมอ มาเป็นพฤติกรรมการดูแลการแปรงฟันของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในด้านการแปรงฟัน
  2.ผู้ปกครองมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนพฤติกรรมการส่งเสริมการรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันของเด็กวัยอนุบาล ด้านการรับประทานอาหารมีประโยชน์จากพฤติกรรมปล่อยให้เด็กเลือกซื้ออาหารรับประทานเองตามใจชอบ ซึ่งมักไม่มีคุณค่าของสารอาหาร มาเป็นพฤติกรรมดูแลรับประทานอาหารเด็กอย่างสม่ำเสมอด้วยการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน กำกับดูแลการเลือกซื้อและรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิดรวมทั้งแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
       หลังจากที่นำเสนอเสร็จแล้วกลุ่มของผมที่จัดทำโครงการได้เชิญอาจารย์มาฟังและให้คำแนะนำ ในการประชุมโครงการครั้งที่ 1 กลุ่มของเราได้ชี้แจงกับทางอาจารย์ในความคืบหน้าของโครงการได้ไปติดต่อกับทางมูลนิธิเสือใหญ่ในการจัดโครงการครั้งนี้ในวันที่ 23 กันยายน 2562 
และได้ลงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ปกครองในความสนใจเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องต่างๆ ในวันที่ 26 กันยายน 2562
       วันนี้จึงได้ประชุมกันเกี่ยวกับเรื่องเนื้อหาและกิจกรรมเกี่ยวกับนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่จะนำไปให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง  ซึ่งเป็นหัวข้อโครงการของกลุ่มเรา 

❤ การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เตรียมพร้อมตัวเองในการนำเสนองานอย่างดี แต่ก็มีข้อผิดพลาดบ้างบางประการ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังการนำเสนอครั้งนี้มาก
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อควรปรับปรุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น